Topic outline

  • บทสรุปผู้บริหาร

                 แผนงานสำนักบริหารงบประมาณและการเงิน ประจำปรีการศึกษา 2568 เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วนมีระบบกลไกในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี  สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี ฉบับปรับปรุง 2565-2571  ในยุทธศาสตร์ที่ 4   : การพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงและเป็นสากล  กลยุทธ์ที่ 5 : สร้างเสริมศักยภาพ และพัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าระดับสากล  มาตรการที่ 5.1 : พัฒนาด้านศักยภาพและสมรรถนะบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ แผนงานที่ S4_5_5.1(5) แผนงานพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านทักษะวิชาชีพเฉพาะด้้านและทักษะด้านภาษาต่างประเทศ   มีโครงการที่ต้องดำเนินงานทั้งหมด   2  โครงการ  และ ในยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 2  : มุ่งเน้นการขับเคลื่อนองคืกรเชิงกลยุทธ์และพัฒนากฎระเบียบให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมต่อการดำเนินงาน มาตรการที่ 2.2 : สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการทำธุรกรรมออนไลน์ให้มีความมั่นคง ปลอดภัย แผนงานที่ S5_2_2.2(3) แผนงานสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยุคดิจิทัล และการทำธุรกรรมออนไลน์ให้มีความมั่นคงปลอดภัย  มีโครงการที่ต้องดำเนินงานทั้งหมด 1 โครงการ รวมทั้งหมด   3  โครงการงบประมาณที่อนุมัติโดยสภาทั้งหมด 25,000  บาท 

                  ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้ 


  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 กลยุทธ์ที่ 5

    ยุทธศาสตร์ที่ 4   : การพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงและเป็นสากล

    กลยุทธ์ที่ 5        สร้างเสริมศักยภาพ และพัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าระดับสากล

    มาตรการที่ 5.1 : พัฒนาด้านศักยภาพและสมรรถนะบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

    S4_5_5.1(5)   :  แผนงานพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านทักษะวิชาชีพเฉพาะด้านและทักษะด้านภาษาต่างประเทศ

    • Opened: Tuesday, 20 May 2025, 12:00 AM
      Due: Tuesday, 27 May 2025, 12:00 AM

      เข้ารับการฝึกอบรม 2 เรื่อง ดังนี้
      1. ประเด็นปัญหาเอกสาร รับจ่ายเงินทางบัญชีทำอย่างไรให้ถูกต้องและไม่ถูกสรรพากรประเมิน

      2. ยกระดับ Accounting Cycle แบบเดิม สู่ Accounting Cycle ในยุคดิจิทัล

      วัตถุประสงค์

                1. เพื่อพัฒนาและเพิ่มทักษะบุคลากรภายในสำนักบริหารงบประมาณและการเงินให้มีความรู้ความสามารถทางบัญชียุคใหม่มากยิ่งขึ้น

                2. เพื่อให้บุคลากรด้านงานบัญชี เก็บชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง ตามคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีที่สภาวิชาชีพกำหนด

      กลุ่มเป้าหมาย

                บุคลากรสำนักบริหารงบประมาณและการเงิน จำนวน 2 คน

      ตัวชี้วัด 

                1. ร้อยละของบุคลากรที่รับผิดชอบงานบัญชีได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ด้านงานบัญชีร้อยละ 100

                2. ร้อยละของบุคลากรด้านงานบัญชี สามารถเก็บชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง ตามคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด

      ระยะเวลาดำเนินการ   ส.ค. 68 - ก.ค. 69

      หลักการและเหตุผล

                ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดให้ผู้ทำบัญชีของแต่ละกิจการต้องเข้าอบรมความรู้ทางด้านบัญชีและภาษี Continuing Professional Development (CPD) หรือที่เรียกกันว่า การเก็บชั่วโมง CPD เป็นระยะเวลารวมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี หมายถึง การพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักบัญชี และมีบทกำหนดโทษกรณีผู้ทำบัญชีที่ไม่เก็บชั่วโมง CPD หรือแจ้งไม่ทันภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท  โดยใช้เกณฑ์ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ.2557 ข้อ 6(3) ได้กำหนดกิจกรรมที่สามารถนับชั่วโมง CPD ได้ดังนี้

                 -  การอบรมหรือสัมมนา  การอบรมสัมมนาหลักสูตรด้านบัญชีหรือหลักสูตรอื่นเช่นภาษีอากร ซึ่งหน่วยงานที่จัดอบรมจะแจ้งล่วงหน้าว่าหลักสูตรใดนับชั่วโมง CPD เป็นชั่วโมงการบัญชีเท่าใดเป็นชั่วโมงอื่นๆเท่าใด ทั้งนี้รวมถึงการอบรมหรือสัมมนาในรูปแบบสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ด้วย

                 -  การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนาในกิจกรรมอบรมสัมมนา

                 -  การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ไม่ว่าจะเป็นการสอนในฐานะอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ

                  - การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีไม่ว่าคุณวุฒิใหม่นั้นจะสูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่ก็ตาม

                   - การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีจากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชนซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

                  ดังนั้น สำนักบริหารงบประมาณและการเงิน จึงได้ส่งบุคลากรด้านงานบัญชีและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้ารับ การอบรมเก็บชั่วโมง CPD ตามเกณฑ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อให้ตรงกับคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด



    • Opened: Tuesday, 20 May 2025, 12:00 AM
      Due: Tuesday, 27 May 2025, 12:00 AM

      เข้ารับการฝึกอบรมเรื่อง  ปัญหาข้อผิดพลาดทางบัญชีพร้อมแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

      วัตถุประสงค์

                1. เพื่อพัฒนาและเพิ่มทักษะบุคลากรภายในสำนักบริหารงบประมาณและการเงินให้มีความรู้ความสามารถทางบัญชีและการเงินยุคใหม่มากยิ่งขึ้น

                2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และความตระหนักรู้แก่พนักงานการเงินเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทั้งด้านนโยบาย กระบวนการควบคุมภายใน การตรวจสอบจุดอ่อนของระบบงาน การใช้เครื่องมือในการติดตามและประเมินความเสี่ยง ตลอดจนแนวทางการป้องกันและรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

        กลุ่มเป้าหมาย

                บุคลากรสำนักบริหารงบประมาณและการเงิน จำนวน 2 คน

       ตัวชี้วัด  

                ร้อยละของบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเงินได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ร้อยละ 100

      ระยะเวลาดำเนินการ  ส.ค. 68 - ก.ค. 69

      หลักการและเหตุผล

                 ในยุคที่ระบบงานด้านบัญชีและการเงินขององค์กรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและข้อมูลจำนวนมาก โดยเฉพาะข้อมูล และวิธีการทางด้านภาษี ที่อาจจะมีความเสี่ยงในกระบวนการทำงานทางด้านภาษี อาจจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ส่งผลให้ขั้นตอนและการดำเนินงานผิดพลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

                 พนักงานการเงินในฐานะผู้ปฏิบัติงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี การควบคุมรายรับรายจ่าย และการรายงานทางการเงิน จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและแนวปฏิบัติในระบบงานภาษีเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อสามารถระบุ วิเคราะห์ ประเมิน และดำเนินการแต่ละขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม เป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร

                 การเข้ารับการอบรมในหัวข้อ “ปัญหาข้อผิดพลาดทางบัญชีพร้อมแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง” นี้ จะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดหรือความเสียหายด้านงานภาษี อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่งเสริมธรรมาภิบาลในองค์กรอย่างยั่งยืน


  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 กลยุทธ์ที่ 2

    ยุทธศาสตร์ที่ 5   : การพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน

    กลยุทธ์ที่ 2        มุ่งเน้นการขับเคลื่อนองค์กรเชิงกลยุทธ์และพัฒนากฎระเบียบให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมต่อการดำเนินงาน

    มาตรการที่ 2.2 : สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการทำธุรกรรมออนไลน์ ให้มีความมั่นคง ปลอดภัย

    S5_2_2.2(3)   :  แผนงานสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยุคดิจิทัล และการทำธุรกรรมออนไลน์ ให้มีความมั่นคง ปลอดภัย

    • Opened: Tuesday, 20 May 2025, 12:00 AM
      Due: Tuesday, 27 May 2025, 12:00 AM
      วัตถุประสงค์
                1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและข้อกำหนดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
                2. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และแนวทางการใช้สิทธิหักลดหย่อนเพื่อลดภาระภาษีอย่างถูกต้อง
                3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษ่ได้อย่างถูกต้องและทันกำหนดเวลา
                4. เพื่อป้องกันปัญหาค่าปรับและดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากความผิดพลาดในการยื่นภาษี
                5. เพื่อส่งเสริมความรู้ทางการเงินและการบริหารจัดการภาษีส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
                6. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถลงทะเบียนในเว็บไซดืกรมสรรพากรและเข้าใจขั้นตอนการยื่นแบบภาษีอย่างถูกต้อง
                7. เพื่ออธิบายส่วนต่างๆ ในกระบวนการยื่นแบบภาษีออนไลน์

      กลุ่มเป้าหมาย
                บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยธนบุรี

      ตัวชี้วัด
                1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อย่างถูกต้อง
                2. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 จากแบบสอบถามหลังการอบรม
                3. จำนวนผู้ที่สามารถลงทะเบียนและดำเนินการยื่นภาษีผ่านเว็บไซด์กรมสรรพากรได้สำเร็จ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

      ระยะเวลาดำเนินการ    ม.ค. - มี.ค. 68

      หลักการและเหตุผล
                ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นรายได้หลักของรัฐบาลที่นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและสวัสดิการสังคม อย่างไรก็ตาม การคำนวณและการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมยังคงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนสำหรับผู้เสียภาษีจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีกฎหมายและนโยบายภาษีที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะ
                ในปีภาษี 2567 ผู้มีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและดอกเบี้ยที่อาจจเกิดขึ้น การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การหักลดหย่อน รวมถึงขั้นตอนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี อาจทำให้ผู้เสียภาษี เสียโอกาสในการลดภาระภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
                ด้วยเหตุนี้ สำนักบริหารงบประมาณและการเงินจึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ยื่นภาษีออนไลน์ง่ายนิดเดียว" ขึ้น เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางปฏิบัติในการยื่นภาษีใด้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา ช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถจัดการภาษีของตนเองให้เป็นไปตามกฎหมาย